หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล กลางเวียง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
“เทศบาลตำบลกลางเวียงเป็นเมืองน่าอยู่
มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
นายกิตติกร กุมมาละ
นายกเทศมนตรีตำบลกลางเวียง
วิสัยทัศน์ ทต.กลางเวียง
สำนักงานเทศบาลตำบลกลางเวียง
เรือหัวพญานาค
อ่างเก็บนํ้า ห้วยฮิ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกลางเวียง
ทต.กลางเวียง
1
2
3
 
 
ศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว
 
 

วัดศรีดอนแท่น  (จังหวัด น่าน)
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/4

ลำดับภาพที่ 2/4

ลำดับภาพที่ 3/4

ลำดับภาพที่ 4/4
<<
>>
X
 
ชื่อสถานที่ : วัดศรีดอนแท่น
 
ที่ตั้ง : วัดดอนแท่น เลขที่ 196 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแท่น ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
 
ข้อมูล : วัดศรีดอนแท่น ตั้งอยู่เลขที่ 196 หมู่ 2 บ้านดอนแท่น ตำบลกลางเวียงอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งารน 96 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2360 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2459 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 50 เมตร ยาว 56 เมตร ภายในบริเวณวัดศรีดอนแท่น มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย 1.พระวิหารทรงล้านนาประดับกระจกสี สายล้านนา 2.หอกลอง 3 ชั้น ลวดลายวิจิตร 3.หอระฆัง 4.ศาลาการเปรียญ 5.พระธาตุเจดีย์ศรีดอนแท่น จำลองแบบจากวัดบุญยืน 6.กุฎิไม้หลังใหญ่ 7.ศาลาบาตร 8.กุฎิประดิษฐานรูปเหมือนเจ้าปู่หลวงอินต๊ะฐิตตโร 9.ตำหนักประดิษฐานพระรูปหล่อเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
วัดศรีดอนแท่น เดิมชื่อ วัดดอนแท่น เป็นวัดที่เก่าแก่มากที่สุดของอำเภอเวียงสาสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2139 ผู้สร้างวัด คือ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 36 ผู้เป็นบุตรของเจ้าพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามหลังจากที่เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ครองเมืองน่านได้ 6 ปีจึงได้เสด็จไปอยู่ที่เมืองเวียงป้อ และสร้างวัดดอนแท่นไว้ (ดังหลักฐานจากพงศาวดารเมืองน่าน)
กาลล่วงมาเกือบสองร้อยปีในช่วงนั้น บ้านเมืองฝ่ายเหนือ รวมทั้งเมืองน่านอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า สมัยอยุธยาบ้านเมืองระส่ำระสายทั้งลาวล้านช้างและเชียงใหม่เกิดจลาจล เพราะหัวเมืองต่าง ๆที่ขึ้นกับเชียงใหม่ ไม่สามัคคีกัน ทำให้พม่ายกทัพไปปราบปรามจนล่วงมาถึงสมัยพระนารายณ์ เชียงใหม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาพม่าคิดว่าเมืองน่านจะไปขึ้นกับอยุธยาด้วย จึงยกพลตีเมืองน่าน ทำลายบ้านเมืองจุดไฟเผาวัดเสียหายเหลือไว้แต่แผ่นดิน ชาวบ้านล้มตาย หลบลี้ หนีหายเมืองน่านถูกทิ้งร้าง ไม่มีเจ้าเมืองดูแลนานถึง 23 ปี จนถึง พ.ศ. 2239 พระยาหลวงตื๋น จากเชียงใหม่ มาครองเมืองน่าน พม่ายังคงมีอำนาจมากด้วยการยกทัพไปตีเชียงใหม่ ตีลาว ลำปาง ลำพูน แพร่ (ยุคธนบุรี)จนกระทั่งมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 บอกราชการศึกไปยังหัวเมืองต่าง ๆทั้งภาคกลาง เมืองเหนือ เมืองใต้ ให้มาช่วยรับศึกพม่า บ้านเมืองจึงสงบลงในปี พ.ศ. 2329 ตลอดระยะเวล190 ปี บ้านเมืองมีแต่ศึกสงคาราม ผู้คนต่างอพยพหลบลี้หนีเอาตัวรอดไม่มีโอกาส ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเท่าที่ควร ดังนั้นการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดดอนแท่นครั้งแรกน่าจะเริ่มขึ้น ในปี พศ. 2360 สมัยเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ กอบบ้านแปงเมือง ผู้คนมีเวลาบำรุงศาสนาทั้งยังมีการสร้างวัดในห้วงเวลาใกล้เคียงกันหลายวัด ได้แก่ วัดกลางเวียง (พ.ศ.2338) วัดบุญยืน (พ.ศ.2340) วัดตาลชุม (พ.ศ.2344) วัดศรีมงคล (พ.ศ.2349) วัดไผ่งาม (พ.ศ.2374)
วัดดอนแท่น ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารที่ชำรุทรุดโทรม เมื่อ ปี พ.ศ. 2437 โดย ครูบาอินต๊ะวงศ์ เจ้าอาวาส ได้ขอประทานราชานุญาตจาก พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชพระเจ้าน่าน ขอซ่อมแซมบูรณะด้วยเหตุที่เป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ก่อน ๆสร้างไว้ จำเป็นต้องใช้ไม้ เป็นจำนวนมาก (สมัยนั้นป่าไม้เป็นของเจ้าผู้ครองนคร)พระเจ้าสุริยพงษ์ฯ ทรงอนุญาต และโปรดให้ เจ้าราชวงศ์ (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)เป็นผู้ดูแลเรื่องไม้ที่จะใช้ในการบูรณะ แล้วโปรดให้ ครูบาอินต๊ะวงศ์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด จนแล้วเสร็จ และได้จัดงานเฉลิมฉลองในวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2442
 
รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว

 
ผู้เข้าชม 2112 ท่าน         
 
 
 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 20 ม.ค. 2558
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 054-718-064